หัวข้อข่าว : แบบรายงานการจัดการความรู้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
2023-08-25 11:21:08 เข้าชม : 25,036 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่การจัดการความรู้
(KNOWLEDGE MANAGEMENT :KM)
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้นำผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา นำมาพิจารณา และเห็นสมควรให้มีการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก เป็นการนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานให้มากที่สุด โดยมีกระบวนการในการสรรหาความรู้เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันไปยังบุคลากรเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
1 กำหนดนโยบายการจัดการความรู้
๑.๑ ส่งเสริมการนำกระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก โดยมีบุคลากร จำนวน 19 คน
- กำหนดให้มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เช่น การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ
๑.๒ ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้แก่บุคลากรทุกคน เพื่อให้สามารถดำเนินการใน
สถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาผู้จัดการเรียนการสอน พัฒนาฐานความรู้ของสถานศึกษา และให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
2 ประกาศแต่งตั้งทีมงานจัดการความรู้
ตามคำสั่งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ที่ 131/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานการจัดการความรู้ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ในภาคผนวก)
3 จำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธาสตร์ของศุนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก จัดทำร่างองค์ความรู้ในแต่ละประเด็นของการจัดการความรู้ เสนอให้ผู้บริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบ แก้ไข เพิ่มเติม และนำมาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นการจัดการความรู้
4 คัดเลือกองค์ความรู้
โดยคณะทำงานจัดการความรู้ฯ ได้พิจารณาเลือกองค์ความรู้ที่จะดำเนินการจัดการความรู้ในปีงบประมาณ ๒๕66 ตามประเด็นการจัดการความรู้ ในด้าน การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ
5 จัดทำแผนการจัดการความรู้
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแกได้กำหนดให้มีกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ที่กระบวนการจัดการความรู้ที่จะส่งเสริมและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้องค์ความรู้ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินภารกิจในประเด็นการจัดการความรู้ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแกได้อย่างมีประสิทธิผล
6 ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก กำหนดคณะทำงานผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ในแต่ละด้าน
แผน KM : แนวทางและวิธีการดำเนินงานประกันคุณภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา กำหนดให้สำนักงานผู้อำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน ดำเนินการ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงและให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันคุณภาพการศึกษา การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในสถานศึกษา
7 การทบทวนปรับปรุงแผนจัดการความรู้
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการประชุมของแต่แผนจัดการความรู้ มีการกล่าวถึงแผนและมีการปรับแผนบางส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบุคลากรและนำมาสรุปปรับแผนในภาพรวมเป็นแผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ ๒566
8 การติดตามและประเมินผล
๑. ผู้บริหารด้านการจัดการความรู้ หัวหน้าทีมงานจัดการความรู้ และคณะทำงานจัดการความรู้ เข้าไปมีส่วนร่วมและสังเกตุการณ์ในการดำเนินงานของแผน พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละด้านของการจัดการความรู้
๒. ให้หน่วยงานเข้าร่วมติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ความรู้แก่หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้
1. การค้นหาความรู้
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน
1.2 สร้าง knowledge mapping กำหนดหัวข้อที่เป็นองค์ที่สำคัญและคณะกรรมการสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่สำคัญได้
1.3 กำหนดเป้าหมายและประโยชน์ขององค์ความรู้เพื่อจะทำให้คณะกรรมการนำไปเป็น คลังความรู้เฉพาะ
2. การสร้างและแสวงหาความรู้
สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้บุคคลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นช่วงเวลาที่อาจารย์ไม่มีภารกิจอื่นที่ต้องปฏิบัติ
2.2 จัดกิจกรรมระดมความคิด จำนวน ๙ ครั้ง ตามประเด็นที่กำหนดในแต่ละครั้งจะคุยแต่ ละประเด็นไปเรื่อยๆ ระยะเวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ นำความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดทำสารบัญของประเภทกิจกรรมโดย แบ่งแยกแต่ละประเภทใช้ชัดเจน โดยแบ่งตามหัวข้อเรื่องให้ชัดเจน
4. การประมวลและการกลั่นกรองความรู้
4.1 จัดทำรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละชุด ให้เป็นมาตรฐานในรูปแบบเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
4.2 มีการขัดเกลาภาษา ให้ความหมาย และมีคำจำกัดความที่เข้าใจตรงกัน เป็นภาษาที่ สามารถสื่อสารได้ง่าย
5. การเข้าถึงความรู้
การนำความรู้ที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะกรรมการ KM มาดำเนินการ ดังนี้
5.1 จัดทำเอกสารหรือคู่มือ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5.2 ขึ้นเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้ดึงองค์ความรู้ที่ต้องการโดยมีวิธีการดังนี้
- การป้อนความรู้ นำองค์ความรู้ทั้งหมดส่งให้ผู้เอาความรู้ไปใช้
- การให้โอกาสในการเลือกใช้องค์ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เลือกใช้องค์ความรู้ ตามที่ต้องการ แต่ต้องผ่านคณะกรรมการ KM
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
6.1 จัดให้มีกรรมการพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหาทางด้านการนำองค์ความรู้ไปใช้
6.2 ให้คณะทำงานใหม่นำเทคนิคการจัดการเรียนรู้การยกระดับผลสัมฤทธิ์ ไปใช้ประโยชน์
7. การเรียนรู้และนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
7.1 นำเสนอกิจกรรม KM ในวัน KM DAY ของสถานศึกษา
7.2 ติดตามผลการน าความรู้ไปใช้และนำผลการดำาเนินการมาจัดทำในการการพัฒนาครั้ง ต่อไป
ระบบติดตามประเมินผลของกระบวนการ
1. ระหว่างการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการติดตามผล การนำเทคนิค วิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น การประชุมเพื่อถ่ายทอดปัญหาจากการนำองค์ความรู้ไป ใช้ รวมทั้งมีการแต่งตั้งอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อคอยให้คำปรึกษาแก่ครูใหม่
2. การพัฒนาจัดการเรียนการสอนโดยเน้น Active Learning เมื่อเสร็จสิ้นภาค การศึกษา ติดตามผลจากผลการประเมินการจัดการเรียนสอน
ผลการดำเนินการจัดการความรู้
1.การเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
และเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล
- แนวปฏิบัติที่ดี
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้นำ SMART Teacher Model มาใช้ในการพัฒนาคุณครูเพื่อให้คุณครูเป็นคนเก่ง ดี มีคุณภาพด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้กับนักศึกษา ซึ่ง SMART Teacher Model ประกอบด้วย
S = Skills คุณครูจะต้องมีทักษะและเทคนิคในวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมถึงมีทักษะการใช้สื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของนักศึกษา
M = Mind คุณครูจะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความมุ่งมั่น เสียสละ และมีความรับผิดชอบ
A = Active learning คุณครูสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี. ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ
R = Ready คุณครูพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน และสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
T = Team work การทำงานเป็นทีม ซึ่งคุณครูจะต้องทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงานภายในสถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา
นอกจากนี้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ยังใช้แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์รูปแบบ NAPANOM MODEL เพื่อจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อันได้แก่
N – Network หมายถึง การสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการ การประสานงาน (Coordination)ความร่วมมือ (Cooperatoin) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการมีส่วนร่วม (Participation)
A – Access หมายถึง การเข้าถึงสถานศึกษาและนักศึกษากลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
P – Plan หมายถึง การวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
A - Action หมายถึง การลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานในการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน
N – Nice หมายถึงการค้นหาแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการยกระดับเพื่อขยายผลและต่อยอดการดำเนินงาน
O – Output หมายถึง ผลผลิตหรือผลการดำเนินงานจากการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
M – Meeting หมายถึง การประชุม สรุป แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สะท้อนผลจากการดำเนินงานและนำข้อด้อยที่ค้นพบเข้าสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบ PDCA
- วิธีการสู่ความสำเร็จ
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีรวมถึงหลักการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จต่างๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยผ่านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) โดยผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้โมเดลปลาทู (Tuna Model) และ SMART Teacher Model มากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้บริหารและคณะครูของสถานศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และทุกกระบวนการจะใช้วงจรเดมมิ่ง หรือ PDCA ในการควบคุมประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นเครื่องมือในการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบการดำเนินงาน พร้อมทั้งปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ บรรยากาศที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความอบอุ่น เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
- ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก
Active Learning
- แนวปฏิบัติที่ดี
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้นำ SMART Teacher Model มาใช้ในการพัฒนาคุณครูเพื่อให้คุณครูเป็นคนเก่ง ดี มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ซึ่ง SMART Teacher Model ประกอบด้วย
S = Skills คุณครูจะต้องมีทักษะและเทคนิคในการจัดการเรียนการสอน การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมถึงมีทักษะการใช้สื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของนักศึกษา
M = Mind คุณครูจะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความมุ่งมั่น เสียสละ และมีความรับผิดชอบ
A = Active learning คุณครูสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี. ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ
R = Ready คุณครูพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน และสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
T = Team work การทำงานเป็นทีม ซึ่งคุณครูจะต้องทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงานภายในสถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา
นอกจากนี้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ยังใช้แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์รูปแบบ NAPANOM MODEL มาใช้ในการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง อันได้แก่
N – Network หมายถึง การสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการ การประสานงาน (Coordination)ความร่วมมือ (Cooperatoin) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการมีส่วนร่วม (Participation)
A – Access หมายถึง การเข้าถึงสถานศึกษาและนักศึกษากลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
P – Plan หมายถึง การวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
A - Action หมายถึง การลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานในการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน
N – Nice หมายถึงการค้นหาแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการยกระดับเพื่อขยายผลและต่อยอดการดำเนินงาน
O – Output หมายถึง ผลผลิตหรือผลการดำเนินงานจากการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
M – Meeting หมายถึง การประชุม สรุป แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สะท้อนผลจากการดำเนินงานและนำข้อด้อยที่ค้นพบเข้าสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบ PDCA
- วิธีการสู่ความสำเร็จ
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีรวมถึงหลักการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จต่างๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยผ่านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) โดยผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้โมเดลปลาทู (Tuna Model) และ SMART Teacher Model มากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้บริหารและคณะครูของสถานศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และทุกกระบวนการจะใช้วงจรเดมมิ่ง หรือ PDCA ในการควบคุมประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นเครื่องมือในการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบการดำเนินงาน พร้อมทั้งปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ บรรยากาศที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความอบอุ่น เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ
- ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับของนักศึกษา กศน.
- แนวปฏิบัติที่ดี
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้นำ SMART Teacher Model มาใช้ในการพัฒนาคุณครูเพื่อให้คุณครูเป็นคนเก่ง ดี มีคุณภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับให้กับนักศึกษา ซึ่ง SMART Teacher Model ประกอบด้วย
S = Skills คุณครูจะต้องมีทักษะและเทคนิคในวิธีการการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมถึงมีทักษะการใช้สื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของนักศึกษา
M = Mind คุณครูจะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความมุ่งมั่น เสียสละ และมีความรับผิดชอบ
A = Active learning คุณครูสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี. ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ
R = Ready คุณครูพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน และสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
T = Team work การทำงานเป็นทีม ซึ่งคุณครูจะต้องทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงานภายในสถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา
นอกจากนี้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ยังใช้แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์รูปแบบ NAPANOM MODEL มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ อันได้แก่
N – Network หมายถึง การสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการ การประสานงาน (Coordination)ความร่วมมือ (Cooperatoin) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการมีส่วนร่วม (Participation)
A – Access หมายถึง การเข้าถึงสถานศึกษาและนักศึกษากลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
P – Plan หมายถึง การวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
A - Action หมายถึง การลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานในการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน
N – Nice หมายถึงการค้นหาแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการยกระดับเพื่อขยายผลและต่อยอดการดำเนินงาน
O – Output หมายถึง ผลผลิตหรือผลการดำเนินงานจากการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
M – Meeting หมายถึง การประชุม สรุป แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สะท้อนผลจากการดำเนินงานและนำข้อด้อยที่ค้นพบเข้าสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบ PDCA
- วิธีการสู่ความสำเร็จ
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีรวมถึงหลักการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จต่างๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยผ่านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) โดยผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้โมเดลปลาทู (Tuna Model) และ SMART Teacher Model มากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้บริหารและคณะครูของสถานศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และทุกกระบวนการจะใช้วงจรเดมมิ่ง หรือ PDCA ในการควบคุมประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นเครื่องมือในการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบการดำเนินงาน พร้อมทั้งปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ บรรยากาศที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความอบอุ่น เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา
- ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของการสอบ N-NET และการสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน
- แนวปฏิบัติที่ดี
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนาแก ได้นำ SMART Teacher Model มาใช้ในการพัฒนาคุณครูเพื่อให้คุณครูเป็นคนเก่ง ดี มีคุณภาพด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learning และการจัดการความรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ให้กับนักศึกษา ซึ่ง SMART Teacher Model ประกอบด้วย
S = Skills คุณครูจะต้องมีทักษะและเทคนิคในวิธีการการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมถึงมีทักษะการใช้สื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของนักศึกษา
M = Mind คุณครูจะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความมุ่งมั่น เสียสละ และมีความรับผิดชอบ
A = Active learning คุณครูสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี. ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ