หัวข้อข่าว : วิธีเช็ดตัว “ลดไข้” ที่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร ?
2023-08-26 01:20:10 เข้าชม : 26,552 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการลดอุณหภูมิในร่างกายนอกเหนือจากการรับประทานยา โดยการเช็ดตัวเป็นการใช้น้ำเป็นตัวช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย
ในผู้ป่วยเด็ก การเช็ดตัวให้กับทารกหรือเด็กที่มีไข้นั้น หากทำไม่ถูกวิธี อาจทำให้เด็กเกิดอาการชักจากภาวะไข้สูงได้! โดยการเช็ดตัวจะมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องทำอย่างถูกวิธี โดยมีคำแนะนำดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
การเช็ดตัว เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดไข้ เพื่อให้น้ำเป็นตัวช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- น้ำอุ่น
- ผ้าผืนเล็ก 2-3 ผืน
- ผ้าขนหนู (สำหรับเช็ดตัว)
- กะละมัง/อ่าง
วิธีการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ?
- เตรียมน้ำอุ่นและพื้นที่สำหรับเช็ดตัวให้พร้อม
- ถอดเสื้อผ้าออก
- ใช้ผ้าผืนเล็กชุบน้ำ บิดให้หมาด เช็ดบริเวณหน้า
- เช็ดแขนและขาทั้ง 2 ข้าง
(เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน) - เช็ดหน้าผากและศีรษะ
(พักผ้าไว้บริเวณศีรษะ ซอกคอ ซอกรักแร้ ขาหนีบ เพื่อระบายความร้อน) - เช็ดลำตัวด้านหน้า
- พลิกตัวคนไข้นอนตะแคงและเช็ดตัวด้านหลัง
- หลังเช็ดตัวเสร็จ ควรซับตัวให้แห้ง สวมใส่เสื้อผ้าเบาสบาย
หมายเหตุ
- วัดไข้ซ้ำในอีก 15 – 30 นาทีต่อมา หากไข้ลดลง แสดงว่าการเช็ดตัวลดไข้ได้ผล
- ผู้ป่วยเด็กมีไข้หมายถึง ผู้ป่วยเด็กมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.8 C
- การเช็ดตัวลดไข้ ควรทำนานประมาณ 10-20 นาที หรือตามความเหมาะสม และควรเปลี่ยนน้ำในอ่างบ่อยๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำให้อุ่นคงที่ตลอดเวลา หลังการเช็ดตัวลดไข้ประมาณ 15 นาทีให้วัดอุณหภูมิผู้ป่วยซ้ำ
- ในผู้ป่วยเด็ก หากมีอาการหนาวสั่นควรหยุดเช็ดตัวทันที และหากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์
อุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่? ถึงเรียกว่ามีไข้
ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า จริงๆ แล้วอุณหภูมิร่างกายปกติของคนเรา ไม่ได้คงที่ตลอดเวลา แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละช่วงของวัน และอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต่างกันไป เช่น เพศ อายุ พฤติกรรม หรืออาหารการกิน
ในช่วงที่ “Covid-19” ระบาดเช่นนี้ ทุกคนสามารถประเมินอาการตัวเองเบื้องต้น ว่าเสี่ยงหรือไม่? โดย การวัดไข้ด้วยตัวเอง
- ร่างกายปกติ >> 35.4 – 37.4 องศาเซลเซียส
- มีไข้ต่ำ >> 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูง >> 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูงมาก >> มากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากมีอาการไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส มีอาการ เจ็บคอ ไอ จาม น้ำมูกไหล และหายใจเหนื่อยหอบร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินัยอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที